รู้ทันโรคมือเท้าปาก
จากกรณีที่เกิดการระบาดของ "โรคมือเท้าปาก" ซึ่งเป็นข่าวสำคัญใกล้ตัวในช่วงเดียนกรกฎาคมที่ผ่านมา ยังผลให้ทุกพื้นที่ในประเทศจำต้องตื่นตัว โดยเฉพาะโรงเรียนหลายแห่งต้องประกาศปิดโรงเรียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ พบว่ามีการระบาดในเด็กนักเรียนชั่น ป.1 ทำให้ทางโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมมีการสั่งปิดโรงเรียนเป็นเวลา 6 วัน
17 ก.ค. กทม.สั่งปิดโรงเรียน 29 แห่ง โดยมีการปิดทั้งโรงเรียน 18 แห่ง และปิดบางห้องเรียน 11 แห่ง
ประกาศปิดโรงเรียนวัฒนาฯ ในวันที่ 18-20 ก.ค. หลังพบว่ามีเด็กนักเรียนอนุบาลป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก 4 ราย
ครม.มีมติให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค หามาตรการป้องกัน เป็นผลให้มีการสั่งปิดโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมือเท้าปาก
19-20 ก.ค. สั่งปิดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ชั่นประถมถึง ม.ต้น หลังพบการระบาดของโรคมือเท้าปากของเด็กนักเรียนชั่นดังกล่าว
19 ก.ค. มีรายงานข่าวแจ้งว่า ที่จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงมีการระบาดของโรคมือเท้าปากสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 4 ปี พญ.เสาวนีย์ วิบูลสันติ รอง ผอ.สำนักงานปัองกันและควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ล่าสุดยังพบเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ คือ ไวรัสค็อกซากี ชนิดเอ ซึ่งยังไม่เคยพบในพื้นที่มาก่อน แม้จะเป็นชนิดที่ไม่รุนแรง แต่หากการรักษาล่าช้าอาจทำให้เชื้อขึ้นสมองเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ คาดว่าอาจเกินจากการกลายพันธุ์ หรืออาจเป็นไวรัสที่ติดมากับนักท่องเที่ยว จึงมีการนำมาแพร่ระบาดในประเทศ
อาการของโรคมือเท้าปาก
-
ผู้ป่วยอาจมีไข้ 2 - 4 วัน และมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บภายในปากและคอ ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายเป็นไข้หวัด
-
มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือที่ก้น ต่อมาจุดหรือผื่นแดงจะะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆจะแดง และแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ ถ้าเด็กมีอาการเหล่านี้หรือซึม ไม่รับประทานอาหารและน้ำ น้ำลายไหล อาเจียนบ่อย ควรเรียบพาไปพบแพทย์ในทันที
การติดต่อของโรคมือเท้าปาก
เชื้อโรคจะอยู่ในน้ำลาย
น้ำมูก อุจจาระ น้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย เชื้อโรคเข้าทางปากโดยตรง
ซึ่งอาจติดมากับมือ ของเล่น การไอหรือจาม หรือใช้ภาชนะในการรับประทาน หรือดื่มร่วมกัน โรคนี้จะติดต่อกันได้ง่าย ในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วยและจะพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยได้นาน ประมาณ 6 สัปดาห์ หลังจากเริ่มป่วย
ซึ่งอาจติดมากับมือ ของเล่น การไอหรือจาม หรือใช้ภาชนะในการรับประทาน หรือดื่มร่วมกัน โรคนี้จะติดต่อกันได้ง่าย ในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วยและจะพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยได้นาน ประมาณ 6 สัปดาห์ หลังจากเริ่มป่วย
วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก
1) ล้างมือ
ฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมอาหารและหลังขับถ่ายทุกครั้ง
2) รับประทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ สะอาด
3) ควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร ไม่ใช้แก้วน้ำ หรือภาชนะในการดื่มร่วมกัน
4) ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยอยู่ก่อนแล้ว
5) หลีกเลี่ยงการนำเด็กเล็กเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีเด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก
หรือมีการเล่นของเล่นร่วมกันในที่สาธารณะในช่วงที่มีโรคระบาด
6) ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลหรือคลุกคลีกับเด็กต้องตัดเล็บให้สั้นและหมั่นล้างมือบ่อยๆ
7) เมื่อมีการเช็ดน้ำมูก น้ำลาย หรือเปลี่ยนผุ้าอ้อม หรือผ้าที่เปื้อนอุจจาระ ต้องรีบล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดโดยเร็ว
8) ทำความสภาพแวดล้อม พื้น
เครื่องใช้ ของเล่นเด็ก ฯลฯ ที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำยาฟอกขาว (คลอร็อกซ์)
อัตราส่วน คือ น้ำยา 20 ซีซี. ต่อ น้ำ 1,000
ซีซี.
และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
9) ถ้าพบผู้ป่วยที่เป็นโรคมือเท้าปาก ให้รีบพาไปพบแพทย์และควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยเร็ว เพื่อดำเนินการควบคุมโรคต่อไป